Friday, March 2, 2007

FOTOGRAFIKD III

ถ่ายมามากขึ้นเพื่อจะได้นำไปใช้งาน เลือกตัวอย่างบ้างชุดมาให้ดู



อันแรกถ่ายสายที่ข้อมือ ด้วยระยะใกล้ไกล ความคมชัด แสงจากภายนอก ทำให้ออกมาเป็นอย่างที่เห็นครับ



ต่อมาถ่ายรถที่จอดอยู่เป็นจำนวนมากจากที่เป็นความรู้สึกแข็งกลายเป็นเหมือนรถของเล่นดูสบาย



จากนั้นถ่ายสายไฟ เสาไฟ



ข้อสังเกต
- ถ้านำมาจัดองค์ประกอบรูปยังหยาบไปต้องทำให้เป็นหน่วยเล็กกว่านี้ก่อน
- ในแต่ละหน่วยเล็กจะแทนค่าน้ำหนัก
- ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวมันคือกราฟฟิกอยู่ที่ว่าเราจะสังเกตมัน
- ทุกอย่างรอบตัวเรามีความงามและน่าสนใจแม้แต่ของที่เหลือใช้

อุปกรณ์ที่ใช้ทำงาน
- กล้อง Panasonic DMC-LX2
- ภาพที่นำมาใช้ทั้งหมดเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น
- ภาพที่นำมาใช้ไม่ได้ถูกปรับแต่งใดๆทั้งสิ้น

FOTOGRAFIKD II

ลองเอารูปมาต่อเล่นดูว่ามันจะป็นไงให้ความรู้สึกอย่างไร หลังจากนั้นการออกไปถ่ายก็จะคิดก่อนว่าจะถ่ายอะไรไปใช่อะไร




และในบางอย่างที่เกิดขึ้น กับให้ความรู้สึกที่แตกต่างและตรงกันข้ามอย่างเสาไฟฟ้าที่เป็นเหล็กกับดูนุ่มคล้ายกิ่งไม้หรอดอกไม้แทน

FOTOGRAFIKD

งานนี้เลือกประเด็นที่ตัวเองสนใจมาสร้างเป็นงานโดยใช้กระบวนการทำงานที่เรียนมาทั้งหมดประกอบด้วย
1.หาข้อมูลให้กว้างและหลากหลาย ต้องเข้าใจเรื่องที่จะทำจริงๆ
2.แล้วนำมากระจายออกไปให้มาก (ทดลอง)
3.พอได้จำนวนพอสมควรแล้วต้องนำมาวิเคราะห์ว่าได้อะไร
4.นำทุกๆอย่างที่ได้ทั้งหมดมาสร้างเป็นงานจริง
เริ่มด้วยหาข้อมูลและศึกษางานของศิลปินต่างๆ ในระหว่างที่หาข้อมูลอยู่ก็จะติดกล้องไปด้วยทุกที่เพิ่อถ่ายและเก็บข้อมูล
และมีการควบคุมการถ่ายทุกอย่าง เช่น รูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ ความคมชัด
ระยะใกล้ไกลและทุกๆอย่างที่มีผลต่อภาพที่ออกมา ที่สำคัญทุกๆภาพไม่มีการปรับแต่งใดทั้งสิ้นจะพยายามแก้ปัญหาในกระบวนการถ่ายทั้งหมด

มิติสุดท้าย

มิติสุดท้ายเป็นการหาข้อสรุปและอธิบายเรื่องที่ทำมาทั้งหมดให้เรียบง่าย
และเข้าใจได้ไม่ยากนัก



แนวคิด:นำของที่อยู่รอบๆตัวมาสร้างเป็นงาน
รูปแบบงาน:เป็นการออกแบบตัวอักษรหรือคำบางคำที่มีความหมาย
(ที่ทำมาเป็นแค่ตัวอย่างของคำเท่านั้น)
วัสดุที่ใช้:ขวด

สรุป
ขวด เป็นบทสรุปของ 3มิติเป็น2มิติ(จากการถ่ายมุมกด)
พื้น เป็นบทสรุปของ 2มิติเป็น3มิติ (มิติจากพื้นผิว)
และเมื่อรวมเข้าด้วยกันแล้วจะกลายเป็นงานกราฟฟิก
1ชิ้นโดยผ่านกระบวนการถ่ายภาพ

3D เป็น 2D ต่อ

ศึกษาและสังเกตเรื่องมิติเพิ่มเติม และแย่งประเภทการศึกษาอย่างกว้าง
1.ทำ 2มิติให้เป็น 3มิติ
2.ทำ 3มิติให้เป็น 2มิติ
3.ทำความเข้าใจให้ได้ว่าอะไรเป็นบรรทัดฐานให้คนตัดสินใจว่าอะไรเป็นภาพถ่ายอะไรเป็นกราฟฟิก
4.ทำความเข้าใจว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้คนรู้สึกว่าอะไรเป็น 2มิติและอะไรเป็น 3มิติ



หลังถ่ายเสร็จได้แยกภาพถ่ายเป็นชุดๆดังนี้ (ภาพถ่ายที่นำมาใช่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น)

- 3มิติเป็น2มิติ
- 2มิติเป็น3มิติ
- ตัวอักษร
- นามธรรม
- พื้นผิว
- มิติความรู้สึก
- มิติความเข้าใจ
- ย้อนแสง
- ลายเส้น
มีข้อสังเกตดังนี้
- บางครั้งภาพบางอย่างพอเริ่มมองไม่ออกว่าเป็นอะไรก็จะเริ่มเป็นกราฟฟิก
- วงกลมเหมือนกันแต่มิติไม่เหมือนกัน เช่น วงกลมของขวดกับวงกลมของท่อ
- ภาพถ่าย คนเราอาจเห็นและเข้าใจต่างกันก็ได้ขึ้นอยู่กับพื้นฐาน ความรู้ความเข้าใจของคนแต่ละคน
ว่ามีความรุ้ความเข้าใจในด้านนั้นมากน้อยเพียงใดและสภาพสังคมกับวัฒนธรรมในแต่ละถิ่นนั้นก็มีส่วน

3D เป็น 2D

งานนี้เป็นงานทดลอง ได้จับประเด็นการถ่ายภาพจาก 3 มิติ ให้เป็น 2มิติ

ขั้นตอนการทำงาน
เริ่มแรกตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่า มิติ เกิดขึ้นได้จากอะไรบ้าง
1. มิติของความลึก
2. มิติของการไล่โทนสี
3. มิติของขนาดใหญ่เล็ก
4. มิติของการจัดลำดับ
จากนั้นก็ออกไปถ่ายหลังจากถ่ายเสร็จมีข้อสังเกตว่าถ้าเป็นการถ่ายย้อนแสงมิติจะหายไปและการถ่ายมุมกดทำให้ตัววัตถุแบน