Friday, March 2, 2007

FOTOGRAFIKD III

ถ่ายมามากขึ้นเพื่อจะได้นำไปใช้งาน เลือกตัวอย่างบ้างชุดมาให้ดู



อันแรกถ่ายสายที่ข้อมือ ด้วยระยะใกล้ไกล ความคมชัด แสงจากภายนอก ทำให้ออกมาเป็นอย่างที่เห็นครับ



ต่อมาถ่ายรถที่จอดอยู่เป็นจำนวนมากจากที่เป็นความรู้สึกแข็งกลายเป็นเหมือนรถของเล่นดูสบาย



จากนั้นถ่ายสายไฟ เสาไฟ



ข้อสังเกต
- ถ้านำมาจัดองค์ประกอบรูปยังหยาบไปต้องทำให้เป็นหน่วยเล็กกว่านี้ก่อน
- ในแต่ละหน่วยเล็กจะแทนค่าน้ำหนัก
- ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวมันคือกราฟฟิกอยู่ที่ว่าเราจะสังเกตมัน
- ทุกอย่างรอบตัวเรามีความงามและน่าสนใจแม้แต่ของที่เหลือใช้

อุปกรณ์ที่ใช้ทำงาน
- กล้อง Panasonic DMC-LX2
- ภาพที่นำมาใช้ทั้งหมดเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น
- ภาพที่นำมาใช้ไม่ได้ถูกปรับแต่งใดๆทั้งสิ้น

FOTOGRAFIKD II

ลองเอารูปมาต่อเล่นดูว่ามันจะป็นไงให้ความรู้สึกอย่างไร หลังจากนั้นการออกไปถ่ายก็จะคิดก่อนว่าจะถ่ายอะไรไปใช่อะไร




และในบางอย่างที่เกิดขึ้น กับให้ความรู้สึกที่แตกต่างและตรงกันข้ามอย่างเสาไฟฟ้าที่เป็นเหล็กกับดูนุ่มคล้ายกิ่งไม้หรอดอกไม้แทน

FOTOGRAFIKD

งานนี้เลือกประเด็นที่ตัวเองสนใจมาสร้างเป็นงานโดยใช้กระบวนการทำงานที่เรียนมาทั้งหมดประกอบด้วย
1.หาข้อมูลให้กว้างและหลากหลาย ต้องเข้าใจเรื่องที่จะทำจริงๆ
2.แล้วนำมากระจายออกไปให้มาก (ทดลอง)
3.พอได้จำนวนพอสมควรแล้วต้องนำมาวิเคราะห์ว่าได้อะไร
4.นำทุกๆอย่างที่ได้ทั้งหมดมาสร้างเป็นงานจริง
เริ่มด้วยหาข้อมูลและศึกษางานของศิลปินต่างๆ ในระหว่างที่หาข้อมูลอยู่ก็จะติดกล้องไปด้วยทุกที่เพิ่อถ่ายและเก็บข้อมูล
และมีการควบคุมการถ่ายทุกอย่าง เช่น รูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ ความคมชัด
ระยะใกล้ไกลและทุกๆอย่างที่มีผลต่อภาพที่ออกมา ที่สำคัญทุกๆภาพไม่มีการปรับแต่งใดทั้งสิ้นจะพยายามแก้ปัญหาในกระบวนการถ่ายทั้งหมด

มิติสุดท้าย

มิติสุดท้ายเป็นการหาข้อสรุปและอธิบายเรื่องที่ทำมาทั้งหมดให้เรียบง่าย
และเข้าใจได้ไม่ยากนัก



แนวคิด:นำของที่อยู่รอบๆตัวมาสร้างเป็นงาน
รูปแบบงาน:เป็นการออกแบบตัวอักษรหรือคำบางคำที่มีความหมาย
(ที่ทำมาเป็นแค่ตัวอย่างของคำเท่านั้น)
วัสดุที่ใช้:ขวด

สรุป
ขวด เป็นบทสรุปของ 3มิติเป็น2มิติ(จากการถ่ายมุมกด)
พื้น เป็นบทสรุปของ 2มิติเป็น3มิติ (มิติจากพื้นผิว)
และเมื่อรวมเข้าด้วยกันแล้วจะกลายเป็นงานกราฟฟิก
1ชิ้นโดยผ่านกระบวนการถ่ายภาพ

3D เป็น 2D ต่อ

ศึกษาและสังเกตเรื่องมิติเพิ่มเติม และแย่งประเภทการศึกษาอย่างกว้าง
1.ทำ 2มิติให้เป็น 3มิติ
2.ทำ 3มิติให้เป็น 2มิติ
3.ทำความเข้าใจให้ได้ว่าอะไรเป็นบรรทัดฐานให้คนตัดสินใจว่าอะไรเป็นภาพถ่ายอะไรเป็นกราฟฟิก
4.ทำความเข้าใจว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้คนรู้สึกว่าอะไรเป็น 2มิติและอะไรเป็น 3มิติ



หลังถ่ายเสร็จได้แยกภาพถ่ายเป็นชุดๆดังนี้ (ภาพถ่ายที่นำมาใช่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น)

- 3มิติเป็น2มิติ
- 2มิติเป็น3มิติ
- ตัวอักษร
- นามธรรม
- พื้นผิว
- มิติความรู้สึก
- มิติความเข้าใจ
- ย้อนแสง
- ลายเส้น
มีข้อสังเกตดังนี้
- บางครั้งภาพบางอย่างพอเริ่มมองไม่ออกว่าเป็นอะไรก็จะเริ่มเป็นกราฟฟิก
- วงกลมเหมือนกันแต่มิติไม่เหมือนกัน เช่น วงกลมของขวดกับวงกลมของท่อ
- ภาพถ่าย คนเราอาจเห็นและเข้าใจต่างกันก็ได้ขึ้นอยู่กับพื้นฐาน ความรู้ความเข้าใจของคนแต่ละคน
ว่ามีความรุ้ความเข้าใจในด้านนั้นมากน้อยเพียงใดและสภาพสังคมกับวัฒนธรรมในแต่ละถิ่นนั้นก็มีส่วน

3D เป็น 2D

งานนี้เป็นงานทดลอง ได้จับประเด็นการถ่ายภาพจาก 3 มิติ ให้เป็น 2มิติ

ขั้นตอนการทำงาน
เริ่มแรกตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่า มิติ เกิดขึ้นได้จากอะไรบ้าง
1. มิติของความลึก
2. มิติของการไล่โทนสี
3. มิติของขนาดใหญ่เล็ก
4. มิติของการจัดลำดับ
จากนั้นก็ออกไปถ่ายหลังจากถ่ายเสร็จมีข้อสังเกตว่าถ้าเป็นการถ่ายย้อนแสงมิติจะหายไปและการถ่ายมุมกดทำให้ตัววัตถุแบน

Tuesday, February 20, 2007

Stefan Sagmeister


Stefan Segmeister เกิดในปี1962 ที่เมือง Bregenz ประเทศ Austrai ครอบครัวของเขาทำธุรกิจเกี่ยวกับการออกแบบแฟชั่น ต่อมาเขาได้เข้าไปศึกษาในโรงเรียนประจำท้องถิ่นที่เกี่ยวกับวิศวะกรรม หลังจากนั้นในปี 1981 เขาได้ย้ายไปเรียนที่ Vienna ซึ่งเขาได้เรียนกราฟฟิกที่ Vienna University of Applied Arts เมื่อในปี 1984 เขาได้ออกแบบของ Vienna’s Schauspielhaus theatre ซึ่งเขาได้ประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือ the Ronacher music hall จากการรื้อถอน และจบการศึกษาปริญญาปีชั้น 1 ในปี 1985 และได้เงินรางวัลอีก 1,000$ จาก the City of Vienna ต่อมาเขาได้เริ่มต้นใช้ชีวิตที่ New York ในปี 1987 เขาได้ในทุนการศึษาของเขาเพื่อเข้าไปเรียนที่ Pratt Institute และเขาได้กลับบ้านเกิดที่ Vienna อีกครั้งเพื่อรับใช้ชาติ เข้าได้เกณฑ์ทหารและได้ทำงานในเขตผู้ลี้ภัย และได้โปสเตอร์สำหรับงานเทศกาล Nickelsdorf jazz




ต่อมาเขาได้ย้ายไปอยู่ที่ Hongkong ในปี 1991 เพื่อเข้าไปทำงานในบริษัทของ Leo Burnett และต่อมาในปี1992 ได้มีคนมาโต้วิภาควิจารณ์งานประกวดโปสเตอร์ของเขาที่ชื่อว่า bum-bearing 4As และหลังจากนั้นเขาได้กลับไปที่ New York อีกครั้งในปี 1993 เพื่อทำงานกับ Tibor Kalman ที่บริษัทM&Co หลังจากนั้นอีก6เดือนต่อมา Kalman ได้ปิดบริษัทM&Co ลงไป แต่ Sagmeister กลับเปิดสตูดิโอของตัวเองขึ้นมากลับเปิดสตูดิโอของตัวเองขึ้นมา ในปั 1994 เขาได้คิด Identity ให้บริษัทลูกพี่ลูกน้องของเขาที่ชื่อ Martin’s jeans stores และได้เสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่ง Grammy Award เพื่อใช้คลุม H. P. Zinker’s Mountains of Madness


และในปี1995 ก็ได้ร่วมมือกับ David Byrne ซึ่งได้ออกแบบปกอัลบั้มของ David Byrne






และต่อมาในปี 1996เขาก็เริ่มวางแผนวางแผนทำปกอัลบั้ม t the Twilight Reeling ให้กับ Lou Reed

นอกจากนั้นในปีนี้เขาได้รับชื่อเสียงคู่กับงานโปสเตอร์ของ AIGA ที่มีชื่อว่า Fresh Dialogue talks และในปี1997เขาก็ได้ออกแบบโปสเตอร์ของ AIGA ที่มีชื่อว่า Headless Chicken โดยทาง AIGA จะจัดงานขึ้นทุกๆ2ปี ที่ New Orleans และเขายังได้ออกแบบกราฟฟิกสำหรับ David Byrne’s Feelings และ Rolling Stones’ Bridges to Babylon ในปี1999 Sagmeister ได้เอามีดสลักข้อความทั่วตัวของเขา สำหรับบรรยายใน AIGA ที่ Cranbrook ใกล้กับ Detroit แต่ในปี 2000 Sagmeister ได้หยุดทำงานในปีนี้ เพื่อวางแผนทำงานทดลองงานต่างๆ






และในปี 2001 เขาก็ได้เปิดสตูดิโอของเขาอีกครั้ง เพื่อจัดพิมพ์หนังสือของเขา ที่มีชื่อว่า “Made You Look” ต่อมาในปี 2003 เขาได้ออกแบบ Boxed Set ที่พูดในหัวเรื่อง Once in a Lifetime และล่าสุดในปี 2004 เขาได้ไปเป็นวิทยากรที่ Berlin และเขายังได้เผยความลับของ “Trying to look good limits my life” ซึ่งเป็นเรื่องราวในภาพต่างๆ







พูดถึงหนังสือ Made you LookStefan Sagmeister บอกว่าเขาทำเพราะความต้องการส่วนตัวของเขา ซึ่งจะเรียนกว่าทำตามegoส่วนตัวก็อาจจะเป็นไปได้ อีกอย่างหนึ่งก็อาจเป็นสิ่งที่ดีเท่าตัวเราเองจะได้มองกลับไปดูคำพูดเหลวไหลต่างที่เคยโดนวิภาควิจารณ์มา และหนังสือเล่มนี้ยังเป็นห้องโชว์ผลงานที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ โดยจะDesignเพื่อลูกค้าก่อนและมีเนื้อหาตามมาทีหลัง รู้สึกอย่างไร Idea การออกแบบของหนังสือเล่มนี้ ? Sagmeister คิดว่า สิ่งที่แย่คือ ตั้งแต่ Design หลายๆคนทำหนังสือในสตูดิโอของพวกเขา และเขายังถามอีกว่า “การทำงานมันยากกับชีวิตมากนักเหรอ” Stefanได้ออกไปทำสิ่งที่แตกต่างบ้างแล้วก็สนุกกับมัน หนังสือเล่มนี้ง่ายต่อการติดต่อสื่อสารนอกจากนี้หนังสือเล่มนี้ยังประกอบไปด้วยขอคิดและกลอุบายในการมองเห็น ซึ่งทำให้เกอดความน่าสนใจ อีกอย่างหนึ่งที่ได้รับจากหนังหนังสือเล่มนี้ก็คือ หนังสือเล่มนี้ได้รับ feed back ตอบกลับมามากแรงบันดาลใจของStefan เขาบอกว่าเขาเดินไปเรื่อยๆแล้วนั่งจิบกาแฟข้างทาง แล้วนั่งดูผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านมา หรือทำ research นอกจากนี้การสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว ก็เป็นแรงบันดาลใจให้กับเราได้กว่าจะมาเป็น Idea? ได้คิดเกี่ยวกับ Project จากมุมมองที่สามารถเป็นไปได้ บางอย่างที่ได้มาอาจได้มาจากตัวคุณเอว จากแม่คุณ จากลูกค้า จากสี หรือจากfontต่างๆ บางครั้งการสร้างIdeaก็เกิดจากการเขียนสิ่งต่างๆลงใน card (สิ่งที่เป็นไปได้) แล้วนำมาวางกองรวมบนโต๊ะ แล้วนำมาหาความสัมพันธ์ ถ้าคิดไม่ออกก็ให้ลืมมันไป Idea จะมาเองเมื่อคุณไม่ได้นึกถึงมันพื้นฐานของการออกแบบ คือ คิด , ทำเป็นข้อๆ , ตั้งสมาธิ , พบปะพูดคุยกับลูกค้า , ฟังเพลง , ดู Sketch book เก่าๆของตัวเองสรุปการทำงานของ Sagmeister1.เขาคำนึงถึง Concept ของลูกค้าทุกครั้งที่คิดงานเพื่อที่จะนำความต้องการของลูกค้านำไปคิดต่อ2.เขารวบรวมความคิดและนำมาวิเคราะห์หาแนวคิดที่ดีที่สุดที่สามารถตอบโจทย์ของงานและสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้3.เขาชอบทำงานที่มีการเล่นกับสายตาเสมอ เขาต้องการให้สะดุดตาทุกครั้งเมื่อมองเห็นในครั้งแรก แล้วชอบที่จะซ่อนอะไรไว้ภายใต้งานของเขา4.เขาไม่เคยทำงานผิดพลาดเลย เพราะเขามีการวางแผนและมี Sketch เสมอ5.ชอบใช้ตัวเองเป็นส่วนหนึ่งกับงานบ่อยๆ เพราะว่าเป็นอะไรที่ง่ายและถูกที่นำเอามาใช้6.Typography ที่เขาใช้ เขามักจะใช้ลายมือตัวเองและสร้างตัวอักษรจากสิ่งต่างๆ เขาบอกว่าเขาไม่อยากถูกครอบงำจาก type faceของคนอื่น7.เขาชอบที่จะลดลองใช้วัสดุแตกต่างกันไปกับงานของเขา